Article

5 พฤษภาคม 2565


สุญญตา


 

โศลกธรรม ของท่านเว่ยหล่าง
"เมื่อไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"


คำสอนของท่านฮวงโป
"พระพุทธเจ้าทั้งปวง
และสัตว์โลกทั้งสิ้น
ไม่ได้เป็นอะไรเลย
นอกจากเพียง จิตหนึ่ง (One mind)
นอกจาก จิตหนึ่ง นี้แล้ว
มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย"


สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ", ความว่าง
       1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
           โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
       2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
       3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
           เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
           เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
           เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
       4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย




กรุณา Login ก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้
Please login for comment
ตรวจสอบสถานะการจัดส่งสินค้า